วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

คู่มือการใช้โปรแกรม PhotoScape เมนูการพิมพ์และเมนูการแก้ไขภาพ


คู่มือการใช้โปรแกรม PhotoScape (เมนูการพิมพ์)

1.เปิดโปรแกรม PhotoScape ขึ้นมา
2.ใช้เมาส์คลิกที่เมนู การพิมพ์

3.หน้าต่างโปรแกรม ในส่วนของการพิมพ์
4.เปิดโฟล์เดอร์เพื่อเลือกภาพที่ต้องการพิมพ์

5.เลือกภาพที่ต้องการพิมพ์ลากมาวางในส่วนที่ไว้สำหรับวางภาพ ตามจำนวนที่ต้องการ

6.การกำหนดค่าต่างๆในการพิมพ์ โดยใช้เมนูด้านขวามือ “กำหนดค่าการพิมพ์”

6.1 )การไล่ระดับสีเทาให้กับรูป คลิกปุ่มไล่ระดับสีเทาด้านขวามือล่างสุด คลิกปรับระดับสีตามต้องการ

6.2) การทำภาพแบบซีเปีย คลิกปุ่มซีเปียด้านขวามือล่างสุด คลิกปรับระดับสีตามต้องการ
7. การกำหนดค่าต่างๆในการพิมพ์ โดยใช้เมนูด้านขวามือ “การพิมพ์ภาพตัวอย่าง”
8. การพิมพ์ภาพ คลิกปุ่ม “ การพิมพ์ ” ด้านบนทางขวามือ เลือกแบบการพิมพ์ตามต้องการ

9. การตั้งค่าเครื่องพิมพ์ภาพ คลิกปุ่ม “ ตั้งค่าเครื่องพิมพ์ ” ด้านบนทางขวามือ ตั้งค่าเครื่องพิมพ์ตามต้อง การ


คู่มือการใช้โปรแกรม PhotoScape (เมนูการรวมภาพ)

1.เปิดโปรแกรม PhotoScape ขึ้นมา
2.ใช้เมาส์คลิกที่เมนู การรวมภาพ

3.หน้าต่างโปรแกรม ในส่วนของการรวมภาพ
4.เปิดโฟล์เดอร์เพื่อเลือกภาพที่ต้องการ

5.เลือกภาพที่ต้องการลากมาวางในส่วนที่ไว้สำหรับวางภาพ ตามจำนวนที่ต้องการ

6.เลือกรูปแบบการรวมภาพ ซึ่งมี 3 แบบด้วยกัน คือ
6.1) การรวมภาพแบบต่อด้านล่าง

6.2) การรวมภาพแบบต่อด้านข้าง

6.3) การรวมภาพแบบต่อเป็นตาราง

7.ทำการตกแต่งภาพที่ได้ให้สวยงาม ด้วยการใช้เมนูด้าน ขวามือเช่นการใส่กรอบรูป, การใส่สีพื้นหลัง,การใส่ความโค้งให้รูป,การขยายภาพ,การใส่กรอบให้รูปแบบต่างๆ

8.การบันทึกภาพ คลิกปุ่มบันทึก ด้านขวามือ ตั้งชื่อภาพและกำหนดนามสกุลให้กับภาพ
เนื้อหาที่เกี่ยวพันกับเพื่อน

http://nipatip-n.blogspot.com/ การแก้ไขเป็นกลุ่มและการรวมภาพ
http://surassawadee5.blogspot.com/ การถ่ายภาพหน้าจอและการจัดหน้า
http://ajcharaporn-tu.blogspot.com/ การแบ่งภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

สื่อมัลติมีเดีย จะหมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล ในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูล และข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ประเภทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้


ประเภทของสื่อมัลติมีเดียมี 2 ประเภท ดังนี้ –สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล –สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นลักษณะการสื่อแบบสองทาง

คุณลักษณะสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย คุณลักษณะสำคัญ 4ประการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่สมบูรณ์ ได้แก่ สารสนเทศ ความแตกต่างระหว่างบุคคล การโต้ตอบ ผลป้อนกลับโดยทันที

โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน CAI มีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายที่สุดในขณะนี้ได้แก่ Macromedia Authorware สามารถออกแบบบทเรียนให้ผู้เรียนมีการโต้ ตอบ หรือมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเลือกตอบ การจับคู่ หรือการเติมข้อความ เป็นต้น Macromedia Directorสามารถเขียนโปรแกรมทำงานได้ตามต้องการ สามารถเขียนโปรแกรมในลักษณะวัตถุ(Object Oriented) ได้
การผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา การบริหารการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา เช่น เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้ว ดำเนินการผลิตเอาในสถานศึกษา ร่วมกับผู้อื่นผลิต การจัดสรรทรัพยากร อุปกรณ์ และบุคลากร การนำสื่อไปใช้ในการเรียนการสอน และเผยแพร่ในห้องสมุด ให้ยืมแผ่น CDหรือเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต การประเมินผลเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น อุปกรณ์การผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ขั้นตอนการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา มี 5 ขั้นตอน เตรียม ออกแบบ สร้างโปรแกรม การประเมิน ปรับปรุงและเผยแพร่ ปัญหาการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ด้านนโยบายการบริหาร และการจัดการ ด้านการผลิต ด้านการจัดหา
ข้อดีของการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา เช่น ช่วยให้การออกแบบบทเรียน ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย สถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เป็นต้น
ข้อจำกัดของการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา มีคุณภาพเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยา ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง มีตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เป็นต้น